welcome

ยินดีต้อนรับเข้าสู่จังหวัดนครราชสีีีมา        * แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดนครราชสีมา        *ร้านอาหาร        *โรงแรม / ที่พัก        * ติดต่อ : 044-965062

วันพุธที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ปราสาทหินพนมวัน

ปราสาทหินพนมวัน

ปราสาทหินพนมวัน
นครราชสีมา หรือ โคราช ถือเป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่ผู้เขียนมีโอกาสแอบไปเที่ยวอยู่ บ่อยๆ ในยามที่เกิดอาการเบื่อหน่าย อาจเป็นเพราะระยะทางไม่ห่างจากกรุงเทพฯมาก นักอีกทั้งการเดินทางก็สะดวกสบาย
แต่ด้วยความที่โคราชเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ กว้างขวาง มีสถานที่ท่องเที่ยวมากมายทั้งป่าเขา แม่น้ำลำธาร ตลอดจนวัดวาอาราม และโบราณสถานสำคัญๆ จึงทำในการเที่ยวแบบล่องลอยของผู้เขียนนี้ไม่ทั่วนครโคราช เลยสักครั้ง จะเว้นก็แต่ครั้งนี้ ที่ดูเหมือนจะเป็นครั้งแรกที่ได้มาแบบตั้งใจไปให้ทั่ว เพราะเลือกแล้วที่จะมาชื่นชมความอลังการณ์ของปราสาทหินพนมวัน ซึ่งเป็นหนึ่งใน หลายปราสาทหินที่ปรากฏในไทย สิ่งเหล่านี้ถือหลักฐานชิ้นสำคัญที่ขอมโบราณทิ้งให้ เห็นว่าในอดีตที่ผ่านมาเคยมีอารยธรรมที่ยิ่งใหญ่นัก
ระยะทางเพียง กิโลเมตร ไม่ไกลจากเมืองโคราชมากนัก ก็ถึงบ้านมะค่า ตำบล บ้านโพธิ์ อำเภอเมือง จ.นครราชสีมา ซึ่งเป็นที่ตั้งของปราสาทหินพนมวันแล้ว ปราสาท หินแห่งนี้มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 5 ของประเทศไทย เป็นศิลปะแบบบาปวนสันนิษฐาน ว่าก่อสร้างด้วยอิฐในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕ ต่อมาในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘-๑๙ จึงได้ สร้างอาคารหินซ้อนทับลงไป จากจารึกที่ค้นพบเรียกปราสาทแห่งนี้ว่า “เทวาศรม” เป็น ศาสนสถานในศาสนาฮินดู ต่อมาจึงได้เปลี่ยนแปลงให้เป็นพุทธสถาน
ปัจจุบันกรมศิลปากรได้มีการบูรณะหลังจากหักพังไปมาก ทำให้เห็นซาก โบราณสถานเป็นเค้าโครงค่อนข้างชัดเจน เช่น ปรางค์จัตุรมุของค์ประธานหลัก ซึ่งหัน หน้าไปทางทิศตะวันออกโดยมีมณฑปอยู่เบื้องหน้าและมีทางเดินเชื่อมต่อระหว่าง อาคารทั้งสอง ทางด้านทิศตะวันออกมี “บาราย” สระน้ำขนาดใหญ่ประจำชุมชน เรียก ว่า “สระเพลง” ซึ่งยังคงสามารถใช้ประโยชน์ได้ถึงปัจจุบัน
ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของปรางค์มีอาคารก่อด้วยหินทรายสีแดงเรียกว่า “ปรางค์น้อย” ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปหินขนาดใหญ่ บริเวณโดยรอบปราสาทมี ระเบียงคต สร้างด้วยหินทรายและศิลาแลงล้อมเป็นกำแพงอยู่ ประตูทางเข้าเทวสถาน มีซุ้มประตูสลักหินทรายขนาดเล็กก่อสร้างเป็นรูปหอสูงทั้งสี่ทิศ บริเวณรอบนอก ปราสาททางด้านทิศตะวันออกห่างจากโบราณสถานเกือบ ๓๐๐ เมตร มีร่องรอยของคู น้ำและเนินดิน
เรียกกันแต่เดิมว่า “เนินนางอรพิมพ์” หรือ “เนินอรพิม” นอกจากนี้ยังพบศิลาแลงจัดเรียงเป็นแนวคล้ายซากฐานอาคารบนเนินแห่งนี้ด้วย สันนิษฐานว่าน่าจะเป็น “พลับพลาลงสรง” ในรูปแบบพิเศษที่ไม่เคยพบในที่อื่นๆ ของ ประเทศไทย อาจใช้เป็นเรือนสำหรับรับรองเจ้านายหรือเป็นวังของผู้ปกครองเมืองพนม วัน แล้วก็เป็นพลับพลาพระตำหนักรับเสด็จพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ หรือผู้แทนพระองค์ที่ น่าจะเดินทางมาถึงปราสาทพนมวันในยุคพุทธศตวรรษที่ ๑๘ เพื่อถวายพระพุทธรูป พระชัยพุทธมหานาถ
และจากการขุดค้นทางโบราณคดีโดยกรมศิลปากร ทำให้เรารู้ว่าปราสาทหิน พนมวันสร้างขึ้นเป็นจนเป็นยอดปราสาทโดยสมบูรณ์แต่ก็พังทลายแบบถล่มลงมาอย่าง รุนแรงทำให้ชิ้นส่วนรูปสลักที่มีอยู่ไม่มากนักกระทบกันจนแตกหัก เรือนยอดปราสาท แตกละเอียดเป็นชิ้นเล็กจนยากที่จะซ่อม ส่วนหน้าบันก็มีหลงเหลือจนเกือบครบทุกด้าน มีทั้งที่ยังไม่เริ่มแกะสลักไปจนถึงแกะสลักเสร็จแล้ว
แม้ว่าก่อนมาจะยังคลางแคงใจต่อกระแสเสียงเล่าลือว่าเป็นปราสาทหินที่ สร้าง ไม่เสร็จจะซึมซับติดตามแต่แต่ปราสาทหินพนมวันตรงหน้า กลับทำให้ผู้เขียนรู้สึกว่าที่นี่ เป็นเมืองที่มีลมหายใจแห่งความหวังอบอวลอยู่ เท่าที่ได้สัมผัสเพียงชั่วข้ามคืนเท่านั้น ก็ สามารถสรุปได้ว่าจะสร้างเสร็จหรือไม่มันไม่สำคัญเลย เพราะหินและอิฐแต่ก้อนแต่ละ แผ่นที่มีเหลืออยู่นั้น ได้บอกเล่าให้คนรุ่นหลังทราบถึงประวัติความเป็นมาต่างๆ ทั้งเรื่อง ของผู้คนที่เคยอยู่อาศัยในแถบนี้ รวมถึงภูมิปัญญา ความรอบรู้ และศิลปะวิทยาการ ต่างๆ มากมายเพียงพอแล้วค่ะ
ใครยังไม่เคยมาเที่ยวโบราณสถานในลักษณะนี้ แนะนำให้ลองมาดูค่ะ เที่ยวชม แล้วเชื่อว่าคุณจะทั้งหลงรักและหวงแหนโบราณสถานแบบนี้ สิ่งที่น่าสนใจของปราสาทหินพนมวัน
- เป็นศาสนสถานที่ยังสร้างไม่เสร็จสมบูรณ์ ถูกสร้างในแบบศาสนาพราหมณ์ แต่มีการค้นพบพระพุทธรูป
- แผนผังของปราสาทหินพนมวันมีรูปแบบเดียวกันกับปราสาทหินพิมาย ใน ศิลปะร่วมแบบบาปวน
- การก่อสร้างลำบากเพราะแถบนี้ไม่มีภูเขาหินทราย จึงต้องไปเอาหินทรายมา จากที่ไกลแล้วขนมา จึงใช้หินทรายแดงที่มีคุณภาพต่ำผสมกับหินทรายสีขาวเทาเพราะ แหล่งวัตถุดิบที่ใกล้สุดมีหินทรายทั้งสองสีผสมกัน
การเดินทาง เส้นทางที่ง่ายที่สุดในการไปยังปราสาทหินพนมวัน คือเริ่มจากหน้า อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี (ย่าโม) ไปทาง ต.จอหอ ใช้เส้นทางถนนมิตรภาพหรือถนนสุร นารายณ์ ผ่านหน้ามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ขับต่อไปทางจังหวัดขอนแก่น ข้ามสะพานสูงต่อไปอีกรวมช่วงนี้ 7 กิโลเมตร
เมื่อถึงแยกสัญญาณไฟจราจร จะมีป้าย บอกว่า “วัดหนองบัว วัดหนองจอก วัดพนมวัน” อยู่ด้านขวา ให้เลี้ยวขวาเข้าไปตามทาง อีกประมาณ 5 กิโลเมตรจะถึงวัดพนมวัน ซึ่งเป็นที่ตั้งของ ปราสาทหินพนมวัน
ที่มา : http://www.isarapost.net/

ปราสาทหินพิมาย

ปราสาทหินพิมาย

ปราสาทหินพิมาย

             ปราสาทหินพิมาย อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย ตั้งอยู่ใน อ. พิมาย ซึ่งห่างจากตัวเมืองโคราชประมาณ 70 กิโลเมตร ปราสทาหินพิมายนี้มีเนื้อที่ 115 ไร่ เป็นปราสาทสมัยขอม ที่ใหญ่โตและยังสมบรูณ์งดงาม มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยม ชื่อ พิมาย น่าจะมากจากคำว่า วิมาย หรือ วิมายปุระ ที่ปรากฏในจารึกภาษาขอมบนแผ่นหินตรงกรอบประตูระเบียงคดด้านหน้าของปราสาท จากหลักฐานศิลาจารึกและศิลปะบ่งบอกว่า เริ่มสร้างขึ้นสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ราวพุทธศตวรรษที่ 16 เป็นสถานที่ศาสานาพราหมณ์และได้มีการดัดแปลงเป็นสถานที่ทางพุทธศาสนาในสมัย พระเจ้าสุริยวรมันที่ 7
 
สิ่งก่อสร้างอื่นภายในปราสาทหินพิมาย
  • พลับพลา
  • สะพานนาคราช
  • ซุ้มประตูและกำแพงแก้ว
  • ชาลาทางเดิน
  • ซุ้มประตูระเบียงคด
  • ปราสาทประธาน
  • ปราสาทหินแดง
  • หอพราหมณ์
  • ปรางค์พรหมทัต
  • บรรณาลัย

* IMG_0035.jpg
(198.1 KB, 800x534 - ดู 185 ครั้ง.)

* 3.jpg
(194.39 KB, 800x534 - ดู 186 ครั้ง.)

* b.jpg
(193.78 KB, 800x534 - ดู 115 ครั้ง.)

* a.jpg
(194.89 KB, 800x534 - ดู 112 ครั้ง.)

* e.jpg
(197.55 KB, 401x600 - ดู 127 ครั้ง.)

* h.jpg
(199.54 KB, 800x534 - ดู 117 ครั้ง.)

* 2.jpg
(195.53 KB, 1000x668 - ดู 115 ครั้ง.)

* 5.jpg
(194.57 KB, 800x534 - ดู 187 ครั้ง.)

* c.jpg
(196.99 KB, 800x534 - ดู 112 ครั้ง.)

* d.jpg
(195.76 KB, 401x600 - ดู 122 ครั้ง.)

* g.jpg
(198.98 KB, 800x534 - ดู 109 ครั้ง.)

* f.jpg
(199.1 KB, 401x600 - ดู 123 ครั้ง.)

* 6.jpg
(196.93 KB, 800x534 - ดู 182 ครั้ง.)

* 8.jpg
(198.48 KB, 401x600 - ดู 184 ครั้ง.)

* 11.jpg
(198.87 KB, 800x534 - ดู 179 ครั้ง.)

* 12.jpg
(172.47 KB, 800x534 - ดู 175 ครั้ง.)
ศาลเจ้าแม่ไทรงาม บรรยากาศเย็น วังเวง ไปถึงก็ต้องประนมมือบอกเจ้าแม่ก่อนครับ...


* 14.jpg
(196.89 KB, 800x534 - ดู 173 ครั้ง.)

* 13.jpg
(199.66 KB, 800x534 - ดู 172 ครั้ง.)

* 17.jpg
(195.47 KB, 800x534 - ดู 168 ครั้ง.)

* 15.jpg
(198.23 KB, 800x534 - ดู 170 ครั้ง.)

* 2.jpg
(195.53 KB, 1000x668 - ดู 103 ครั้ง.)

แหล่งท่องเที่ยวใน อ.โนนสูง

แหล่งท่องเที่ยวใน อ.โนนสูง

แหล่งท่องเที่ยวใน อ.โนนสูง
รวมแหล่งท่องเที่ยวสำคัญๆ ใน อำเภอโนนสูง ที่ใครหลายๆ คนควรไปสัมผัสไม่ว่าจะเป็นแบบครอบครัว แบบคู่รัก แบบเพื่อนฝูง หรือจะแบบชิวๆ รับรองได้ว่าอำเภอโนนสูงมีครบทุกบรรยากาศ ที่คนอย่างคุณไม่ควรพลาด
ผลิตภัณฑ์จากกกจันทบูรณ์บ้านปราสาทใต้
ตั้งอยุ่ที่หมู่ 7 ตำบลธารปราสาท ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 45 กิโลเมตร ตาม  เส้นทางสายนครราชสีมา–ขอนแก่น บริเวณหลัก กม. ที่ 44 แล้วแยกซ้ายเข้าไปอีก 1 กิโลเมตร เป็นหมู่บ้านที่นักท่องเที่ยวสามารถไปสัมผัสวิถีชีวิตชาวบ้านได้อย่างใกล้ ชิดในลักษณะโฮมสเตย์ นอกจากจะได้ชมโครงกระดูกมนุษย์โบราณอายุ 3,000 ปี สมาชิกกลุ่มแม่บ้านบ้านปราสาทใต้ ยังดำเนินกิจกรรมแปรรูปกกจันทบูรณ์ เป็นกระเป๋า แฟ้มเอกสาร กล่องกระดาษชำระ รองเท้า หมวก ฯลฯ สนใจเดินทางไปชมติดต่อ สำนักงานเกษตรอำเภอโนนสูง โทร. 0 4437 9269
หมู่บ้านที่นักท่องเที่ยวสามารถไปสัมผัสวิถีชีวิตชาวบ้านได้อย่างใกล้ชิด ในลักษณะโฮมสเตย์ นอกจากจะได้ชมโครงกระดูกมนุษย์โบราณอายุ 3,000 ปี สมาชิกกลุ่มแม่บ้านบ้านปราสาทใต้ ยังดำเนินกิจกรรมแปรรูปกกจันทบูรณ์ เป็นกระเป๋า แฟ้มเอกสาร กล่องกระดาษชำระ รองเท้า หมวก ฯลฯ สนใจเดินทางไปชมติดต่อ สำนักงานเกษตรอำเภอโนนสูง โทร. 0 4437 9269
แหล่งโบราณคดีบ้านปราสาท
ตั้งอยู่หมู่ที่ 7 บ้านปราสาทใต้ ตำบลธารปราสาท จากตัวเมืองใช้ทางหลวงหมายเลข 2 (นครราชสีมา-ขอนแก่น ถึงกิโลเมตรที่ 44 มีทางแยกซ้ายเข้าไปอีก 1 กิโลเมตร หากเดินทางโดยรถประจำทางจากกรุงเทพฯหรือนครราชสีมา ให้นั่งรถสายที่จะไป ขอนแก่น อุดรธานี หนองคาย หรือ กาฬสินธุ์ ลงรถที่กม.44 แล้วต่อรถจักรยานยนต์รับจ้างจากปากทางเข้าหมู่บ้าน บ้านปราสาทนับเป็นแหล่งโบราณคดีแห่งที่สองต่อจากบ้านเชียง ที่ได้จัดทำในลักษณะพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง จากหลักฐานที่ค้นพบสันนิษฐานว่า มีชุมชนอาศัยอยู่ในบริเวณนี้มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์จนถึงสมัย ประวัติศาสตร์ มีหลักฐานของกลุ่มวัฒนธรรมแบบทวารวดีและแบบเขมรโบราณ ช่วงระหว่าง 1,500-3,000 ปีมาแล้ว หลุมขุดค้น
ที่มา : roomholidays.com